ทฤษฎี การออกแบบระบบการเรียนการสอน
-
การวิเคราะห์ความจำเป็น
สำหรับวิชาที่จัดไว้ในหลักสูตร
และเป็นวิชาที่เลือกให้นักศึกษาเรียน
ส่วนนี้คณะกรรมการบริหารหลักสูตร
ได้ทำการวิเคราะห์ถึงความจำเป็น
ด้วยเหตุและผล
อาจมีการปรับเปลี่ยนหลักสูตร
คำอธิบายรายวิชาให้ทันสมัยตามความก้าวหน้าทางวิชาการที่เปลี่ยนไป
5)
การวัดและประเมินผล (Evaluation) กระบวนการวัดและประเมินผลการสอน
ส่วนใหญ่เป็นขั้นตอนการวัดและประเมินผลเพื่อเป็นการตัดสินผู้เรียน
(เพื่อตัดเกรด) คือ การสอบระหว่างเรียน การสอบปลายภาค
การตรวจผลงานหรือโครงการที่มอบหมาย
ยังไม่ได้เน้นกระบวนการวัดผลเพื่อปรับปรุงผู้เรียนในขณะเรียน
ผมคิดว่าเป็นกระบวนการที่สำคัญ
เพราะเป็นการประเมินว่าระบบการเรียนการสอนของเราว่ามีประสิทธิภาพเพียงใด
มีข้อบกพร่องหรือไม่
ต้องแก้ไขปรับปรุงส่วนใด แต่กระบวนการดังกล่าว
อาจทำได้ค่อนข้างยาก
และผู้สอนต้องทุ่มเทเวลาให้อย่างมาก
ความเป็นมาของการออกแบบการเรียนการสอน
1) การวิเคราะห์ (Analysis) ในประเด็นต่าง
ๆ ได้แก่
-
การวิเคราะห์งานหรือการเรียนการสอน
ได้แก่
การวิเคราะห์เนื้อหาและกิจกรรมต่าง
ๆ
ที่ผู้สอนต้องทำในรายวิชา
โดยการแสดงหัวข้อเนื้อหาหลัก หัวเรื่องรอง
โดยยึดกรอบคำอธิบายรายวิชาเป็นหลัก
-
การวิเคราะห์ผู้เรียน
ส่วนใหญ่มักทำด้วยกระบวนการสั้น
ๆ เช่น สอบถามความรู้พื้นฐาน
บางครั้งอาจมีการประเมินผลก่อนเรียน
แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ในการออกแบบการเรียนการสอนเท่าไรนัก
ทั้งที่เป็นส่วนสำคัญมาก
ๆ
ที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จทางการเรียน
แต่เนื่องจากมีผู้เรียนจำนวนมากในห้องเรียน
ผู้สอนไม่อาจออกแบบการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียนเป็นรายบุคคลได้
จึงออกแบบการสอนให้เหมาะกับผู้เรียนส่วนใหญ่ในห้อง
- การวิเคราะห์วัตถุประสงค์
มีการวิเคราะห์วัตถุประสงค์ในการเรียนการสอน
โดยแบ่งเป็นวัตถุประสงค์ทั่วไปของรายวิชา
และวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมในแต่ละบท
2) การออกแบบ (Design) คือ
การออกแบบในส่วนของ
วัตถุประสงค์การสอนแต่ละบทหรือแต่ละสัปดาห์
เน้นการพัฒนาผู้เรียนให้ครบทั้ง
3 ด้าน คือ ด้านสติปัญญา (Cognitive) ด้านทักษะ (Psychomotor) และด้านลักษณะนิสัย
(Affective) ลำดับเนื้อหาในการสอน
ระบุวิธีสอนหรือ
กลยุทธ์ในการสอน
ซึ่งส่วนใหญ่ก็ใช้วิธีการบรรยาย
อภิปราย มอบหมายงาน
(ส่วนใหญ่ยังใช้วิธีผู้สอนเป็นศูนย์กลาง)
เลือกสื่อการสอน และกำหนดวิธีการประเมินผล
ทั้งหมดได้ออกแบบโดยกำหนดไว้ในแผนการสอนแล้ว
แต่จะนำมาใช้ตามแผนได้ทั้งหมดหรือไม่นั้น
บางครั้งมีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา
(ถ้าสอนในชั้นเรียนปกติ
และมีนักศึกษากลุ่มใหญ่)
3) การพัฒนา (Development) กระบวนการพัฒนา
ได้แก่
การนำสิ่งที่คิดหรือออกแบบไว้มาใช้
ได้แก่
- การพัฒนาเนื้อหา
กรณีไม่พัฒนาตำราหรือเอกสารประกอบการสอนเอง
ก็ใช้วิธีการเลือกหนังสือหรือตำราที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับสิ่งที่ออกแบบไว้
- การพัฒนาสื่อ
ที่สามารถทำได้ขณะนี้คือ
สไลด์ประกอบการสอน
เว็บไซต์แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม
-
การประเมินในขณะพัฒนา
เป็นกระบวนการที่สำคัญ
ผู้สอนมักไม่ค่อยได้นำมาใช้
เพราะมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก
อาจต้องมีผู้เชี่ยวชาญช่วยประเมินตรวจสอบ
หรือใช้กระบวนการวิจัยสื่อทำการหาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของสื่อ
4) การนำไปใช้ (Implementation) คือ
ขั้นตอนการนำแผนการสอนที่ได้วิเคราะห์
ออกแบบ และพัฒนาไว้ไปใช้สอนจริง
โดยพยายามดำเนินการตามแผนการสอนหรือระบบการเรียนการสอนที่ออกแบบไว้
การออกแบบการเรียนการสอน
ความหมาย
การออกแบบการเรียนการสอน คือ ศาสตร์ (Science) ในการกำหนดรายละเอียด
รายการต่าง ๆ เพื่อพัฒนา การประเมินและการทำนุบำรุงรักษาให้คงไว้ของสภาวะต่าง ๆ
เพื่อทำให้เกิดการเรียนรู้ ทั้งในเนื้อหาจำนวนมาก หรือเนื้อหาสั้น ๆ
การออกแบบการสอน (Instructional Design) เป็นการนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาใช้อย่างเป็นระบบเพื่อให้การออกแบบหรือการวางแผนการสอนมีประสิทธิภาพสูงสุด
หลักการออกแบบการสอน (Instructional
Design) เป็นสิ่งแนะนำ
แนวทางสำ หรับครูผู้สอนหรือผู้ออกแบบการสอน (Instructional
Designer)ให้ประสบผล สำเร็จในการออกแบบ
และรู้แนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิจัย และสร้างเสริมประสบการณ์
ในการออกแบบการสอน (Instructional Design) เพื่อนำความรู้ที่มีอยู่อย่างหลากหลายไปสู่ผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การออกแบบการสอน (Instructional Design) เป็นทั้งกระบวนการสำหรับการจัดเตรียมโปรแกรมการสอนอย่างเป็นระบบและหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ของบุคคล ทั้งกระบวนการ และหลักการดังกล่าวมาเป็นสิ่งที่
การออกแบบการสอน (Instructional Design) เป็นทั้งกระบวนการสำหรับการจัดเตรียมโปรแกรมการสอนอย่างเป็นระบบและหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ของบุคคล ทั้งกระบวนการ และหลักการดังกล่าวมาเป็นสิ่งที่
จำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งในการออกแบบการสอน
ซึ่งจะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปไม่ได้
การออกแบบการสอนเป็นวิธีการระบบ เพื่อการวิเคราะห์, การออกแบบ, การพัฒนา,
การดำเนินการให้เป็นผล และการประเมินผลของสารปัจจัย
และกิจกรรมการเรียน
การออกแบบการสอนมุ่งหมายเพื่อวิธีการสอนที่ยึดถือผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
มากกว่าวิธีการที่ยึดถือผู้สอนเป็นศูนย์กลาง
จนกระทั่งการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิผลเกิดขึ้นได้นี่หมายความว่าจะต้องควบคุมกำกับการองค์ประกอบการสอนทุกชนิดด้วยผลลัพธ์ทางการเรียนซึ่งได้รับการวินิจฉัยภายหลังการวิเคราะห์ความต้องการ(ความจำเป็น)ของผู้เรียน
อย่างต่อเนื่องสมบูรณ์
การออกแบบการสอน หมายถึง
กระบวนการครบวงจรสำหรับการวิเคราะห์ความต้องการในการเรียน เป้าหมายในการเรียน
และการพัฒนาระบบในการนำส่งความรู้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
โดยกระบวนการในการพัฒนานี้ครอบคลุมการพัฒนาเอกสารการเรียนการสอน
กิจกรรมการเรียนการสอนการทดลอง การปรับปรุงการเรียนการสอน และกิจกรรม
ในการวัดและประเมินผลผู้เรียน
แบบจำลอง ADDIE
เป็นกระบวนการออกแบบการสอนที่กระทำวนซ้ำใหม่ ในที่ผลของการประเมินผลเพื่อพัฒนาของแต่ละขั้นตอนที่ชี้แนะให้นักออกแบบการสอนพิจารณากลับไป
ที่ขั้นตอนก่อนหน้า ผลิตผลขั้นสุดท้ายของขั้นตอนหนึ่งๆ
เป็นผลิตผลเริ่มต้นของขั้นตอนต่อไป
ADDIE MODEL คือการออกแบบระบบการเรียนการสอน
กล่าวคือกระบวนการพัฒนาโปรแกรมการสอน จากจุดเริ่มต้นจนถึงจุดสิ้นสุด
มีแบบจำลองจำนวนมากมายที่นักออกแบบการสอนใช้
และสำหรับตามความประสงค์ทางการสอนต่างๆ กระบวนการออกแบบการเรียนการสอนแบบ ADDIE
สามารถสรุปเป็นขั้นตอนทั่วไปได้เป็น 5 ขั้น
ประกอบไปด้วย
1. Analysis (การวิเคราะห์)
1. Analysis (การวิเคราะห์)
2. Design (การออกแบบ)
3. Development (การพัฒนา)
4. Implementation (การนำไปใช้)
5. Evaluation (การประเมินผล)
1. ขั้นการวิเคราะห์ (Analysis)
ขั้นตอนการวิเคราะห์เป็นรากฐานสำหรับขั้นตอนการออกแบบการสอนขั้นตอนอื่นๆ ในระหว่างขั้นตอนนี้ คุณจะต้องระบุปัญหา, ระบุแหล่งของปัญหา และวินิจฉัยคำตอบที่ทำได้ ขั้นตอนนี้อาจประกอบด้วยเทคนิคการวินิจฉัยเฉพาะ เช่น การวิเคราะห์ความต้องการ(ความจำเป็น) , การวิเคราะห์งาน, การวิเคราะห์ภารกิจ ผลลัพธ์ของขั้นตอนนี้มักประกอบด้วย เป้าหมาย และ รายการภารกิจที่จะสอน ผลลัพธ์เหล่านี้จะถูกนำเข้าไปยังขั้นตอนการออกแบบต่อไป
ขั้นตอนการวิเคราะห์เป็นรากฐานสำหรับขั้นตอนการออกแบบการสอนขั้นตอนอื่นๆ ในระหว่างขั้นตอนนี้ คุณจะต้องระบุปัญหา, ระบุแหล่งของปัญหา และวินิจฉัยคำตอบที่ทำได้ ขั้นตอนนี้อาจประกอบด้วยเทคนิคการวินิจฉัยเฉพาะ เช่น การวิเคราะห์ความต้องการ(ความจำเป็น) , การวิเคราะห์งาน, การวิเคราะห์ภารกิจ ผลลัพธ์ของขั้นตอนนี้มักประกอบด้วย เป้าหมาย และ รายการภารกิจที่จะสอน ผลลัพธ์เหล่านี้จะถูกนำเข้าไปยังขั้นตอนการออกแบบต่อไป
2. ขั้นการออกแบบ (Design)
ขั้นตอนการออกแบบเกี่ยวข้องกับการใช้ผลลัพธ์จากขั้นตอนการวิเคราะห์
เพื่อวางแผนกลยุทธ์สำหรับพัฒนาการสอน
ในระหว่างขั้นตอนนี้คุณจะต้องกำหนดโครงร่างวิธีการให้บรรลุถึงเป้าหมายการสอน ซึ่งได้รับการวินิจฉัยในระหว่างขั้นตอนการวิเคราะห์
และขยายผลสารัตถะการสอน ประกอบด้วยรายละเอียดแต่ละส่วน ดังนี้
1. การออกแบบ Courseware (การออกแบบบทเรียน) ซึ่งจะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม เนื้อหา แบบทดสอบก่อนบทเรียน (Pre-test) สื่อ กิจกรรม วิธีการนำเสนอ และแบบทดสอบหลังบทเรียน (Post-test)
2. การออกแบบผังงาน (Flowchart) และการออกแบบบทดำเนินเรื่อง (Storyboard)(ขั้นตอนการเขียนผังงานและสตอรี่บอร์ดของ อลาสซี่)
3. การออกแบบหน้าจอภาพ (Screen Design)การออกแบบหน้าจอภาพ หมายถึง การจัดพื้นที่ของจอภาพเพื่อใช้ในการนำเสนอเนื้อหา ภาพ และส่วนประกอบอื่นๆ สิ่งที่ต้องพิจารณา มีดังนี้
1. การกำหนดความละเอียดภาพ (Resolution)
2. การจัดพื้นที่แต่ละหน้าจอภาพในการนำเสนอ
3. การเลือกรูปแบบและขนาดของตัวอักษรทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
4. การกำหนดสี ได้แก่ สีของตัวอักษร (Font Color) ,สีของฉากหลัง (Background),สีของส่วนอื่นๆ
5. การกำหนดส่วนอื่นๆ ที่เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้บทเรียน
1. การออกแบบ Courseware (การออกแบบบทเรียน) ซึ่งจะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม เนื้อหา แบบทดสอบก่อนบทเรียน (Pre-test) สื่อ กิจกรรม วิธีการนำเสนอ และแบบทดสอบหลังบทเรียน (Post-test)
2. การออกแบบผังงาน (Flowchart) และการออกแบบบทดำเนินเรื่อง (Storyboard)(ขั้นตอนการเขียนผังงานและสตอรี่บอร์ดของ อลาสซี่)
3. การออกแบบหน้าจอภาพ (Screen Design)การออกแบบหน้าจอภาพ หมายถึง การจัดพื้นที่ของจอภาพเพื่อใช้ในการนำเสนอเนื้อหา ภาพ และส่วนประกอบอื่นๆ สิ่งที่ต้องพิจารณา มีดังนี้
1. การกำหนดความละเอียดภาพ (Resolution)
2. การจัดพื้นที่แต่ละหน้าจอภาพในการนำเสนอ
3. การเลือกรูปแบบและขนาดของตัวอักษรทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
4. การกำหนดสี ได้แก่ สีของตัวอักษร (Font Color) ,สีของฉากหลัง (Background),สีของส่วนอื่นๆ
5. การกำหนดส่วนอื่นๆ ที่เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้บทเรียน
3. ขั้นการพัฒนา (Development) (ขั้นตอนการสร้าง/เขียนโปรแกรมและผลิตเอกสารประกอบการเรียน)
ขั้นตอนการพัฒนาสร้างขึ้นบนบนขั้นตอนการวิเคราะห์และการออกแบบ จุดมุ่งหมายของขั้นตอนนี้คือ สร้างแผนการสอนและสื่อของบทเรียน ในระหว่างขั้นตอนนี้คุณจะต้องพัฒนาการสอน และสื่อทั้งหมดที่ใช้ในการสอน และเอกสารสนับสนุนต่างๆ สิ่งเหล่านี้อาจจะประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์ (เช่น เครื่องมือสถานการณ์จำลอง) และซอฟต์แวร์ (เช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน)
ประกอบด้วยรายละเอียดแต่ละส่วน ดังนี้
1. การเตรียมการ เกี่ยวกับองค์ประกอบดังนี้
1.1 การเตรียมข้อความ
1.2 การเตรียมภาพ
1.3 การเตรียมเสียง
1.4 การเตรียมโปรแกรมจัดการบทเรียน
2. การสร้างบทเรียน หลังจากได้เตรียมข้อความ ภาพ เสียง และส่วนอื่น เรียบร้อยแล้ว ขั้นต่อไปเป็นการสร้างบทเรียน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์จัดการ เพื่อเปลี่ยน story board ให้กลายเป็นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
3. การสร้างเอกสารประกอบการเรียน หลังจากสร้างบทเรียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ในขั้นต่อไปจะเป็นการตรวจสอบและทดสอบความสมบูรณ์ขั้นต้นของบทเรียน
ขั้นตอนการพัฒนาสร้างขึ้นบนบนขั้นตอนการวิเคราะห์และการออกแบบ จุดมุ่งหมายของขั้นตอนนี้คือ สร้างแผนการสอนและสื่อของบทเรียน ในระหว่างขั้นตอนนี้คุณจะต้องพัฒนาการสอน และสื่อทั้งหมดที่ใช้ในการสอน และเอกสารสนับสนุนต่างๆ สิ่งเหล่านี้อาจจะประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์ (เช่น เครื่องมือสถานการณ์จำลอง) และซอฟต์แวร์ (เช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน)
ประกอบด้วยรายละเอียดแต่ละส่วน ดังนี้
1. การเตรียมการ เกี่ยวกับองค์ประกอบดังนี้
1.1 การเตรียมข้อความ
1.2 การเตรียมภาพ
1.3 การเตรียมเสียง
1.4 การเตรียมโปรแกรมจัดการบทเรียน
2. การสร้างบทเรียน หลังจากได้เตรียมข้อความ ภาพ เสียง และส่วนอื่น เรียบร้อยแล้ว ขั้นต่อไปเป็นการสร้างบทเรียน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์จัดการ เพื่อเปลี่ยน story board ให้กลายเป็นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
3. การสร้างเอกสารประกอบการเรียน หลังจากสร้างบทเรียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ในขั้นต่อไปจะเป็นการตรวจสอบและทดสอบความสมบูรณ์ขั้นต้นของบทเรียน
4. ขั้นการนำไปใช้ (Implementation)
เป็นขั้นตอนการดำเนินการให้เป็นผล หมายถึงการนำส่งที่แท้จริงของการสอน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบชั้นเรียน หรือห้องทดลอง หรือรูปแบบใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานก็ตาม จุดมุ่งหมายของขั้นตอนนี้คือการนำส่งการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ขั้นตอนนี้จะต้องให้การส่งเสริมความเข้าใจของผู้เรียนในสารปัจจัยต่างๆ, สนับสนุนการเรียนรอบรู้ของผู้เรียนในวัตถุประสงค์ต่างๆ และ เป็นหลักประกันในการถ่ายโอนความรู้ของผู้เรียนจากสภาพแวดล้อมการเรียนไปยังการงานได้เป็นการนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ไปใช้ โดยใช้กับกลุ่มตัวอย่างมาย เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของบทเรียนในขั้นต้น หลังจากนั้น จึงทำการปรับปรุงแก้ไขก่อนที่จะนำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายจริง เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียน และนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสมและประสิทธิภาพ
เป็นขั้นตอนการดำเนินการให้เป็นผล หมายถึงการนำส่งที่แท้จริงของการสอน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบชั้นเรียน หรือห้องทดลอง หรือรูปแบบใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานก็ตาม จุดมุ่งหมายของขั้นตอนนี้คือการนำส่งการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ขั้นตอนนี้จะต้องให้การส่งเสริมความเข้าใจของผู้เรียนในสารปัจจัยต่างๆ, สนับสนุนการเรียนรอบรู้ของผู้เรียนในวัตถุประสงค์ต่างๆ และ เป็นหลักประกันในการถ่ายโอนความรู้ของผู้เรียนจากสภาพแวดล้อมการเรียนไปยังการงานได้เป็นการนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ไปใช้ โดยใช้กับกลุ่มตัวอย่างมาย เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของบทเรียนในขั้นต้น หลังจากนั้น จึงทำการปรับปรุงแก้ไขก่อนที่จะนำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายจริง เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียน และนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสมและประสิทธิภาพ
5. ขั้นการประเมินผล (Evaluation)
การประเมินผล คือ การเปรียบเทียบกับการเรียนการสอนแบบปกติ โดยแบ่งผู้เรียนออกเป็น 2 กลุ่ม เรียนด้วยบทเรียน ที่สร้างขึ้น 1 กลุ่ม และเรียนด้วยการสอนปกติอีก 1 กลุ่ม หลังจากนั้นจึงให้ผู้เรียนทั้งสองกลุ่ม ทำแบบทดสอบชุดเดียวกัน และแปลผลคะแนนที่ได้ สรุปเป็นประสิทธิภาพของบทเรียนขั้นตอนนี้วัดผลประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการสอน การประเมินผลเกิดขึ้นตลอดกระบวนการออกแบบการสอนทั้งหมด กล่าวคือ ภายในขั้นตอนต่างๆ และระหว่างขั้นตอนต่างๆ และภายหลังการดำเนินการให้เป็นผลแล้ว การประเมินผล อาจจะเป็นการประเมินผลเพื่อพัฒนา (Formative evaluation) หรือการประเมินผลรวม (Summative evaluation) โดยสองขั้นตอนนี้จำดำเนินการดังนี้
การประเมินผล คือ การเปรียบเทียบกับการเรียนการสอนแบบปกติ โดยแบ่งผู้เรียนออกเป็น 2 กลุ่ม เรียนด้วยบทเรียน ที่สร้างขึ้น 1 กลุ่ม และเรียนด้วยการสอนปกติอีก 1 กลุ่ม หลังจากนั้นจึงให้ผู้เรียนทั้งสองกลุ่ม ทำแบบทดสอบชุดเดียวกัน และแปลผลคะแนนที่ได้ สรุปเป็นประสิทธิภาพของบทเรียนขั้นตอนนี้วัดผลประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการสอน การประเมินผลเกิดขึ้นตลอดกระบวนการออกแบบการสอนทั้งหมด กล่าวคือ ภายในขั้นตอนต่างๆ และระหว่างขั้นตอนต่างๆ และภายหลังการดำเนินการให้เป็นผลแล้ว การประเมินผล อาจจะเป็นการประเมินผลเพื่อพัฒนา (Formative evaluation) หรือการประเมินผลรวม (Summative evaluation) โดยสองขั้นตอนนี้จำดำเนินการดังนี้
การประเมินผลเพื่อพัฒนา (Formative evaluation)
ดำเนินการต่อเนื่องในภายในและระหว่างขั้นตอนต่างๆ
จุดมุ่งหมายของการประเมินผลชนิดนี้ คือ เพื่อปรับปรุงการสอนก่อนที่จะนำแบบฉบับขั้นสุดท้ายไปใช้ให้เป็นผล
การประเมินผลรวม (Summative evaluation)
โดยปกติเกิดขึ้นภายหลังการสอน เมื่อแบบฉบับขั้นสุดท้ายได้รับการดำเนินการใช้ให้เป็นผลแล้ว การประเมินผลประเภทนี้จะประเมินประสิทธิผลการสอนทั้งหมด ข้อมูลจากการประเมินผลรวมโดยปกติมักจะถูกใช้เพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับการสอน ( เช่นจะซื้อชุดการสอนนั้นหรือไม่ หรือจะดำเนินการต่อไปหรือไม่)
โดยปกติเกิดขึ้นภายหลังการสอน เมื่อแบบฉบับขั้นสุดท้ายได้รับการดำเนินการใช้ให้เป็นผลแล้ว การประเมินผลประเภทนี้จะประเมินประสิทธิผลการสอนทั้งหมด ข้อมูลจากการประเมินผลรวมโดยปกติมักจะถูกใช้เพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับการสอน ( เช่นจะซื้อชุดการสอนนั้นหรือไม่ หรือจะดำเนินการต่อไปหรือไม่)
การออกแบบระบบการเรียนการสอน
(Instructional System
Design)
การออกแบบระบบการเรียนการสอน
(Instructional System design) มีชื่อเรียกหลากหลาย เช่น
การออกแบบการเรียนการสอน (Instructional design) การออกแบบและพัฒนาการสอน
(Instructional design and development) เป็นต้น
ไม่ว่าชื่อจะมีความหลากหลายเพียงใด แต่ชื่อเหล่านั้นก็มากจากต้นตอเดียวกัน
คือมาจากแนวคิดในการใช้กระบวนการของวิธีระบบ (system approach)
การออกแบบการเรียนการสอนไม่ใช่การสร้างระบบใหม่
กิจกรรมการออกแบบการเรียนการสอน (instructional
design) นั้นไม่ใช่กิจกรรมการออกแบบและสร้างระบบการสอนขึ้นใหม่
แต่เป็นกระบวนการนำรูปแบบ (model) ที่มีผู้คิดสร้างไว้แล้วมาใช้ตามขั้นตอน
(step) ต่าง ๆ
ที่เจ้าของรูปแบบนั้นกำหนดไว้อาจจะมีคำถามว่า ถ้าไม่ได้ออกแบบระบบเอง
ทำไมจึงใช้คำว่า “ ออกแบบการเรียนการสอน”
คำตอบที่ชัดเจนก็คือ ผู้ใช้รูปแบบ (model) ของการสอนนั้นจำเป็นต้องออกแบบตามขั้นตอนต่าง ๆ ของรูปแบบนั้น ๆ ทั้งนี้เนื่องจากรูปแบบ (model) ที่มีผู้สร้างไว้ให้นั้นเป็นเพียงกรอบและแนวทางในการดำเนินงานเท่านั้น
รายละเอียดต่างๆ ภายในขั้นตอนจะแตกต่างกันออกไปตามสภาพปัญหา จุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน ลักษณะของผู้เรียน และเงื่อนไขต่าง ๆ
การออกแบบการเรียนการสอน (ID) เกิดจากการใช้กระบวนการของวิธีระบบ
(system approach) ในการฝึกทหารของกองทัพบกอเมริกันในช่วงสงครามโลกครั้งที่
2 โดยมีความเชื่อว่า การเรียนรู้ใด ๆ
ไม่ควรจะเกิดอย่างบังเอิญ แต่ควรเกิดจากการพัฒนาสิ่งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม
มีกระบวนการ มีขั้นตอน และสามารถวัดผลจากการเรียนรู้ได้อย่างชัดเจน
ในการออกแบบการเรียนการสอนต้องอาศัยความรู้ศาสตร์
สาขาต่าง ๆ อันได้แก่ จิตวิทยาการศึกษา
การสื่อความหมาย การศึกษาศาสตร์ทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาร่วม
ธอร์นไดค์
( Edward L. Thorndike,1898 ) พัฒนาทฤษฎีการเรียนรู้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ โดยเริ่มทดลองกับสัตว์ “อินทรีย์สร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยง ระหว่างสิ่งเร้า ( Stimulus ) และการ สนองตอบ ( Response )
พัฒนาการออกแบบการสอน
1.ID1 พื้นฐานมาจากกลุ่มพฤติกรรมนิยม
2.ID2 พื้นฐานมาจากกลุ่มพุทธิปัญญานิยม
3.พื้นฐานจาก Constructivism
การออกแบบการสอนในยุคที่1
ID1 พื้นฐานมาจากกลุ่มพฤติกรรมนิยม ตามแนวคิดนี้การเรียนรู้ หมายถึง
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ซึ่งเป็นผลอันเนื่องมาจากประสบการณ์ที่คนเรา
มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมหรือจากการฝึกหัด การออกแบบการสอนในยุคแรก (ID1)
ที่พบในปัจจุบัน ได้แก่ บทเรียนโปรแกรม ชุดการสอน และบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
เป็นต้น
ลักษณะสำคัญของการออกแบบการสอนในยุค
ID1
1. ระบุวัตถุประสงค์การสอนที่ชัดเจน
2. การสอนในแต่ละขั้นตอนนำไปสู่การเรียนแบบรอบรู้ในหน่วยการสอนรวม
3. ให้ผู้เรียนได้เรียนตามอัตราการเรียนรู้ของตนเอง
4. ดำเนินการไปตามโปรแกรมหรือลำดับขั้นที่กำหนดไว้
การออกแบบการสอนในยุคที่2
ID2 พื้นฐานมาจากกลุ่มพุทธิปัญญานิยม ตามแนวคิดนี้
การเปลี่ยนแปลงความรู้ของผู้เรียนเกิดจากการจัดระเบียบ ขยายความคิด
และจัดหมวดหมู่ของความจำลง สู่โครงสร้างทางปัญญา โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับกระบวน
การคิด การให้เหตุผลของผู้เรียนซึ่งมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าภายนอกกับสิ่งเร้าภายใน
คือ ส่งผ่านสื่อไปยังความรู้ความเข้าใจ กระบวนการรู้
การคิดที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้
การออกแบบการสอนในยุคที่3
พื้นฐานจาก
คอนสตัคติวิสต์ ( Constructivism
) ตามแนวคิดนี้เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยการสร้างความรู้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนได้สร้างสิ่งที่แทนความรู้ความจำในระยะทำงานอย่างตื่นตัว
ครูผู้สอนเป็นเพียงผู้ชี้แนะแนวทางหรือโมเดลในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยการเรียนรู้ในยุคนี้จะเน้นการพัฒนากระบวนการคิดอย่างอิสระให้ผู้เรียน
สร้างความรู้ได้ ด้วยตนเอง
ตลอดจนเรียนรู้จากการปฏิบัติของตนเองโดยวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลาย
สามารถคิดแบบองค์รวมได้
พัฒนาการออกแบบการสอน
การใช้วิธีระบบในการฝึกทหารของกองทัพบกอเมริกันช่วงสงครามโลกครั้งที่
2 เชื่อว่า “การเรียนรู้ใด ๆ ไม่ควรเกิดอย่างบังเอิญ แต่ควรเกิดจากการพัฒนาสิ่งต่าง ๆ
อย่างเหมาะสม มีกระบวนการขั้นตอน และสามารถวัดผลจากการเรียนรู้ได้อย่างชัดเจน”
การออกแบบการเรียนการสอนต้องอาศัยความรู้ศาสตร์ สาขา ต่าง ๆ ได้แก่
จิตวิทยาการศึกษา การสื่อความหมาย การศึกษาศาสตร์ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาร่วม
ประโยชน์ของการออกแบบการสอน
1. ช่วยให้จัดทำหลักสูตรวิชาชีพทุกสาขาวิชาง่ายขึ้น
2. ช่วยให้ครูและนักเรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
3. ช่วยให้นักเรียนมีความตั้งใจ
สนุกกับเนื้อหา เกิดประสบการณ์ การเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น
4. ช่วยให้จัดทำสื่อการเรียนการสอนได้ถูกต้องเหมาะสมตาม
ความต้องการของผู้เรียน และนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. ช่วยให้ผู้ที่สนใจเกิดแรงกระตุ้นที่จะพัฒนาและออกแบบการ
เรียนการสอนให้เหมาะสมกับเนื้อวิชาและผู้เรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น